สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 7-13 กุมภาพันธ์ 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,486 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,256 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.04
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,084 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,964 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,510 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,870 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.80
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 758 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,699 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 756 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,816 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 117 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 430 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,011 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 438 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,377 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 366 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 424 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,816 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,279 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 463 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.5838 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ศรีลังกา
รัฐบาลศรีลังกาวางแผนนำเข้าข้าว 400,000 ตัน เพื่อเพิ่มอุปทาน รับมือราคาข้าวที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศ
หนังสือพิมพ์เดลีนิวส์ อ้างถึง นายอิลมา ดาฮานายาเค เลขาธิการสมทบกระทรวงการค้าศรีลังกา คาดการณ์ว่า ศรีลังกาจะนำเข้าข้าวจากอินเดียมากถึง 300,000 ตัน และจากเมียนมา 100,000 ตัน เพื่อแก้ไขปัญหาราคาข้าวสูงเกินจริงที่มีต้นเหตุมาจากโรงสีข้าวขนาดใหญ่หลายแห่ง
นายดาฮานายาเค เผยว่า ศรีลังกามีแผนนำเข้าข้าวครั้งละ 20,000 ตัน ในราคาตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 14,700 บาท) ผ่านบริษัท ศรีลังกา เสตต เทรดดิง (เจเนอรัล) คอร์เปอเรชั่น (Sri Lanka State Trading (General) Corporation) ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐ
นอกจากนี้ กระทรวงฯ ขอให้ธนาคารกลางออกอัตราแลกเปลี่ยนที่จำเป็นสำหรับการนำเข้าข้าว ซึ่งโดยปกติแล้วการนำเข้าข้าวในศรีลังกามักถูกจำกัดให้มีปริมาณเพียงเล็กน้อย
ดัชนีราคาผู้บริโภคโคลัมโบ (Colombo Consumer Price Index) ชี้ให้เห็นว่า ในเดือนมกราคมภาวะราคาอาหารของศรีลังกาสูงขึ้นร้อยละ 25 โดยมีปัจจัยจากการขาดแคลนอุปทานอันเป็นผลพวงจากสภาพอากาศเลวร้าย
การคลาดแคลนปุ๋ย ตลอดจนราคานำเข้าที่ปรับสูงขึ้น อนึ่ง หนังสือพิมพ์ฯ ได้ระบุว่า ในแต่ละปีคนศรีลังกาบริโภคข้าวประมาณ 2.1 ล้านตัน
ที่มา xinhuathai.com
ฟิลิปปินส์
สำนักงานอุตสาหกรรมพืช (the Bureau of Plant Industry; BPI) รายงานว่า ในเดือนมกราคม 2565 ภาคเอกชน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการโรงสีข้าว ผู้ค้าข้าว และบริษัทต่างๆ มีการนําเข้าข้าวมากกว่า 240,000 ตัน โดยในช่วงตั้งแต่วันที่ 1-27 มกราคม ตัวเลขการนําเข้าอยู่ที่ประมาณ 247,362.437 ตัน จากใบอนุญาตสุขอนามัยพืช [the sanitary and phytosanitary import clearances (SPS-ICs)] จำนวน 362 ใบ ที่ได้ออกให้แก่ผู้ยื่นขอนําเข้าข้าว จำนวน 54 ราย
โดยแหล่งนําเข้าข้าวที่สำคัญยังคงเป็นประเทศเวียดนาม มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 83 ของปริมาณนําเข้าข้าวทั้งหมด คิดเป็นจำนวนประมาณ 205,192.302 ตัน ตามด้วยประเทศเมียนมาจำนวน 21,320 ตัน ประเทศไทยจำนวน 12,765 ตัน และจีนจำนวน 2,355.135 ตัน ทั้งนี้ ผู้นําเข้ารายสำคัญในเดือนมกราคม 2565 ได้แก่ Mutya Ricemill
ซึ่งขอนําเข้าจำนวน 18,841 ตัน ตามด้วย Bestow Industries Inc. จำนวน 17,415 ตัน
ในปี 2564 ฟิลิปปินส์นําเข้าข้าวประมาณ 2.77 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับปี 2563 ซึ่งถือเป็นปริมาณนําเข้าข้าวมากที่สุด โดยเป็นการนําเข้าจากประเทศเวียดนามประมาณ 2.36 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 85 ของปริมาณนําเข้าข้าวทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับปี 2563
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (the Philippine News Agency; PNA) รายงานว่า ในปี 2564 การผลิตข้าวเปลือกของฟิลิปปินส์สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 19.96 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปี 2563 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณในการลงทุนในโครงการข้าวด้านต่างๆ การจัดหาข้าวเปลือก และการจัดระบบชลประทานที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ รัฐมนตรีเกษตรฯ รายงานว่ารัฐบาลได้ใช้งบประมาณจำนวน 15 พันล้านเปโซ (ประมาณ 292 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับโครงการข้าวแห่งชาติ (the national rice program; NRP) และโครงการสร้างความยืดหยุ่นของสินค้าข้าว (rice resiliency; RRP) ใช้งบประมาณจำนวน 10 พันล้านเปโซ (ประมาณ 195 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับกองทุนส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันข้าว (the Rice Competitiveness Enhancement Fund; RCEF) ใช้งบประมาณจำนวน 7 พันล้านเปโซ (ประมาณ 136 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับองค์การอาหารแห่งชาติ (the National Food Authority NFA) และงบประมาณจำนวน 30 พันล้านเปโซ (ประมาณ 584 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับสำนักงานชลประทานแห่งชาติ (the National Irrigation Administration; NIA
ผู้อํานวยการโครงการบูรณาการด้านข้าวของฟิลิปปินส์ (the Director of the Philippine Integrated Rice Program; PIRP) ระบุว่า การใช้เทคโนโลยีที่ดีกว่าเดิม การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงที่ทันสมัย การใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ทางการเกษตรมากขึ้น การฝึกอบรม การให้บริการด้านสินเชื่อและการตลาด ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและข้าวโพดมีปริมาณผลผลิตที่มากขึ้นจนสร้างสถิติใหม่ได้
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สอง เนื่องจากผู้ซื้อเปลี่ยนไปซื้อข้าว
จากแหล่งอื่นที่มีราคาถูกกว่า เช่น เมียนมา ปากีสถาน ส่งผลให้ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 370-376 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 372-379 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
วงการค้ารายงานว่า ขณะนี้ยังคงมีปัญหาด้านการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟภายในประเทศ (Freight train)
ซึ่งส่งผลให้อุปทานข้าวในตลาดค่อนข้างตึงตัว และทำให้การส่งมอบข้าวตามที่ได้มีการทำสัญญาไว้ก่อนหน้านี้
ต้องประสบกับปัญหาการส่งมอบล่าช้ากว่ากำหนด
มีรายงานว่า ในปีงบประมาณ 2564/65 รัฐบาลอินเดียมีแผนที่จะจัดหาข้าวสาลีและข้าวเปลือกจำนวน 120.8 ล้านตัน โดยได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 2.37 ล้านล้านรูปี หรือประมาณ 31.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับเกษตรกรจำนวนประมาณ 16.3 ล้านราย
ทั้งนี้ รัฐบาลมีโครงการจัดหาข้าวและข้าวสาลีจากเกษตรกรในราคาที่รับประกันและนําออกมาขายให้กับ ประชาชนผู้ยากไร้ในราคาอุดหนุนภายใต้พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติ (the National Food Security Act)
ที่ผ่านมา มีรายงานว่า รัฐบาลอินเดียกําลังวางแผนที่จะเสนอขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาลสำหรับผู้ผลิต
เอทานอลในราคาที่รัฐบาลให้การอุดหนุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะลดสต็อกข้าวที่ยังคงอยู่ระดับสูง
ในปัจจุบัน โดยคาดว่ารัฐบาลจะลดสต็อกข้าวลงประมาณ 10 ล้านตัน
ทั้งนี้ ณ วันที่ 1 มกราคม 2565 สต็อกข้าวขององค์การอาหารแห่งชาติ (Food Corporation of India; FCI)
มีประมาณ 53.8 ล้านตัน ซึ่งมีมากกว่าระดับปกติที่ 7.61 ล้านตัน ประมาณ 7 เท่า และคาดว่ารัฐบาลจะมีการนําข้าว
ไปใช้ประมาณ 28 ล้านตัน เพื่อจําหน่ายให้ประชาชนภายใต้พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติ (NFSA) และมีแนวโน้มที่จะเสนอขายข้าวจากสต็อกสำหรับบผู้ผลิตเอทานอลต่อไปในอีกห้าปีข้างหน้า
จากรายงานของทางการอินเดีย คาดว่าผู้ผลิตเอทานอลจะใช้ข้าวประมาณ 10-11 ล้านตัน เพื่อผลิตเอทานอลประมาณ 4,400-4,800 ล้านลิตร
กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) แถลงว่ารัฐบาลอินเดียได้ประกาศราคาอุดหนุนขั้นต่ำ (Minimum Support Prices; MSP) สำหรับสินค้าเกษตรหลักจำนวน 22 ชนิด
ที่มีคุณภาพเฉลี่ยในระดับปานกลาง (Fair Average Quality; FAQ) ในฤดูกาลเพาะปลูก หลังจากที่มีการพิจารณา
ตามคำแนะนําของคณะกรรมการต้นทุนและราคาสินค้าเกษตร (Commission for Agricultural Costs and Prices; CACP) แล้ว
โดยรัฐบาลประกาศราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-กันยายน) ปี 2021/22 (ตุลาคม 2021-กันยายน 2022) ซึ่งรัฐบาลได้ประเมินต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
ในปี 2021/22 (2564/65) เฉลี่ยอยู่ที่ 1,293 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 177 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ดังนั้น เพื่อให้ เกษตรกรมีผลกําไรประมาณร้อยละ 50 จากการเพาะปลูกข้าว รัฐบาลจึงกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำสำหรับข้าวคุณภาพ ธรรมดาไว้ที่ 1,940 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 260 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้น 72 รูปี หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.85 จาก 1,868 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 247 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ในปี 2020/21 (2563/64)
ขณะที่ข้าวคุณภาพดี (Grade ‘A’ paddy) กำหนดไว้ที่ 1,960 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 262 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้น 72 รูปีหรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.8 จาก 1,888 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ในปี 2020/21 (2563/64)
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 338.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,991.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 200.00 ดอลลาร์สหรัฐ (6,584.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 69.00 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 4,407.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 643.00 เซนต์ (8,349.00 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 632.00 เซนต์ (8,306.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 43.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.664 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.387 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.796 ล้านไร่ ผลผลิต 32.499 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.318 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ลดลงร้อยละ 1.35 แต่ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 และร้อยละ 2.08 ตามลำดับ โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 7.36 ล้านตัน (ร้อยละ 22.49 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.30 ล้านตัน (ร้อยละ 62.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นและคุณภาพดี สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.29 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.32 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.29
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.41 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.38 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.26
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.46 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 245 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,983 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,078 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,091 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (15,019 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          คณะกรรมการน้ำตาลของอินเดีย รายงานว่า รัฐมหาราษฏระกำลังจะผลิตน้ำตาลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 11.5 ล้านตัน และผลิตเอทานอล 1.2 พันล้านลิตร ในปี 2564/2565
          นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การผลิตน้ำตาลของจีนในฤดูกาลนี้จะลดลงเหลือ 10 ล้านตัน โดยอ้างอิงข้อมูลจากพ่อค้าในท้องถิ่น ในขณะเดียวกันน้ำตาลคงคลังของมณฑลกวางสี ณ สิ้นเดือนมกราคมลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แม้จะมีน้ำตาลคงคลังค้างมาจากปีที่แล้วเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากการหยุดชะงักของการเก็บเกี่ยว ขณะที่น้ำตาลในคลังของมณฑลไห่หนานลดลง 6,700 ตัน อยู่ที่ 36,200 ตัน โดย ณ สิ้นเดือนมกราคม  มณฑลไห่หนานผลิตน้ำตาลได้ 45,100 ตัน เพิ่มขึ้น 3,000 ตัน และขายน้ำตาลได้ 8,900 ตัน ลดลง 700 ตัน เมื่อเทียบกับปีก่อนตามลำดับ ด้านมณฑลกวางตุ้งผลิตน้ำตาลได้ 302,000 ตัน เทียบกับ 276,000 ตัน ที่ผลิตได้ในปีที่แล้ว และขายได้ 167,000 ตัน เทียบกับ 155,000 ตัน ที่ขายได้เมื่อปีที่แล้ว
          ผู้สังเกตการณ์ในตลาดคาดว่าผลผลิตอ้อยปี 2565/2566 ในภาคกลาง-ใต้ของบราซิลจะเพิ่มขึ้นเป็น    560 ล้านตัน และผลิตน้ำตาลได้ 34.35 ล้านตัน ด้านนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ฝนจะยังคงตกต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่ออ้อย และราคาน้ำมันดิบที่ลดลง สามารถผลักดันให้เพิ่มสัดส่วนการผลิตน้ำตาลได้




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,580.48 เซนต์ (19.17 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,532.32 เซนต์ (18.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.14
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 455.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.05 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 434.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.99
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 64.60 เซนต์ (47.00 บาท/กก.)ลดลงจากปอนด์ละ 65.55 เซนต์ (48.22บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.45


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.23 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.94
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.25 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 20.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 919.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.96 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 909.50 ดอลลาร์สหรัฐ (29.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 796.20 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 787.25 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.14 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,258.80 ดอลลาร์สหรัฐ (41.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,253.00 ดอลลาร์สหรัฐ (41.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.26 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 641.80 ดอลลาร์สหรัฐ (20.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 650.00 ดอลลาร์สหรัฐ (21.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.50 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,098.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.79 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,101.75 ดอลลาร์สหรัฐ (36.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.51 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.67 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.86 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 126.02 เซนต์(กิโลกรัมละ 91.71 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 127.12 เซนต์ (กิโลกรัมละ 93.55 บาท) ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 0.87 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.84 บาท)

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,796 บาท สูงกว่ากิโลกรัมละ 1,774 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,523 บาท สูงกว่ากิโลกรัมละ 1,498 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.67 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,005 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  97.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 102.01  คิดเป็นร้อยละ 4.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 86.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 93.25 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 102.58 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 92.89 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,200 บาท ลดลงจากตัวละ 3,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.57 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.50 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 102.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.93 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.74 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 41.08 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 301 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 302 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 309 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 302 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.25 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 369 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 367 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 385 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 384 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 339 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 382 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.90 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.12 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.90 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.83 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.47 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 - 13 กุมภาพันธ์ 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.10 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 48.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.65 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิต
ออกสู่ตลาดลดลง สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.86 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 81.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.55 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 177.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 173.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.43 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 182.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 180.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.61 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 67.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท เนื่องจากชาวประมงจับปลาได้เพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้และราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.56 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 10.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.44 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา